
mono no aware (โมโนโนะ อาวาเระ) แปลตรงตัวว่า ความเศร้าสร้อยของสรรพสิ่ง
ได้คำนี้มาจากหนังสือของอ.เป็ด
แต่จริงๆ ไม่เกี่ยวกับที่กำลังจะเขียนถึงเลย แค่รู้สึกว่า บทความเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้ ช่างเศร้าสร้อยและเถียงไม่ได้ เพราะมันคือความจริง
กำลังพูดถึงบทความจาก คอลัมน์ การ์ตูนที่รัก ของนพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
ในมติชน สุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1428 หน้าปก ทำไมต้อง สมัคร สุนทรเวช
บทความนี้เขียนถึงการ์ตูนเรื่อง Rainbow 7 นช. แดน 2 ห้อง 6 ของเนชั่น
การ์คูนที่พูดถึงเหตุการณ์ในญี่ปุ่น ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เนื้อหาเป็นยังไง ต้องลองไปหาอ่านเอาเอง ที่อยากะูดถึงคือ ข้อเขียนของนพ.ประเสริฐมากกว่า
อะไรที่เกิดขึ้นในสถานพินิจเยาวชน ก็คือ อะไรที่เกิดขึ้นกับโรงงาน โรงเรียน และโรงพยาบาลเช่นกัน
เพราะพิ้นที่ทั้งสี่แห่งใช้โครงสร้างการจัดการแบบเดียวกัน
สถานพินิจเยาวชนโชนันเป็นสถานที่ปิดล้อม
โรงงาน โรงเรียน และโรงพยาบาลใช้การปิดล้อมเป็นการขีดวงอำนาจเหมือนสถานพินิจเยาวชน
โรงงานและโรงเรียนเข้าได้ออกไม่ได้ จนกว่าจะถึงเวลาออก
โรงพยาบาลเข้าได้ อาจจะออกไม่ได้ตามแต่ผู้มีอำนาจ คือ นายแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจในนามแห่งสุขภาพ
ความต่างกันของสถานที่ทั้งสี่แห่งจึงเป็นเรื่องของเวลา
โครงสร้างอำนาจลักษณะหนึ่งคือ การจัดซอยเวลาเป็นส่วนๆ แล้วบังคับให้มนุษย์ปฎิบัติภารกิจตามเวลานั้น
ที่ผมถูกใจก็คือส่วนที่เขียนถึงโรงเรียนและโรงพยาบาล... อาจเป็นเพราะว่า
ผมไม่เคยทำงานโรงงานและไม่เคยเข้าสถานพินิจ
โรงเรียนควบคุมนักเรียนด้วยสิ่งที่เรียกว่า ตารางสอน
โรงพยาบาลใช้ตารางเวลาควบตุมทังผู้ป่วย ญาติและหมอ
โรงพยาบาลถนัดนักในการตัดซอยพื้นที่ให้บริการผู้ป่วยตามขั้นตอนและอวัยวะ
ขั้นตอนยิ่งมาก หรือมีหลายอวัยวะที่ต้องตรวจ อำนาจของผู้ป่วยจะถูกตัดทอนลงทุกขณะ
จนกระทั่งไม่มีสิทธิ์
โรงเรียนเป็นที่ที่เชี่ยวชาญเรื่องการแบ่งพื้นที่เพื่อควบคุมสติปัญญาของเด็กในนามระเบียบวินัย
ทำไมไม่มีใครสงสัยว่านักเรียนของประเทศที่เขาไม่ต้องเคารพธงชาตืตอนเช้า
หรือถูกสั่งให้ตัดผมสั้นเหมือนอาชญากรจึงพัฒนากว่าบ้านของเรา
การตัดผมสั้นเป็นอีกหนึ่งโครงสร้างของอำนาจ
นักเรียนบ้านเราตัดผมสั้นเหมือนเยาวชนในสถานพินิจเยาวชนโชนัน
อันนี้ไม่รู้มีใครคิดตามบทความนี้ทันหรือเปล่าว่าจริงๆแล้ว หมอประเสริฐอยากพูดเรื่องนี้กับใคร
ต้องถาม กระทรวงศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม
และกระทรวงอะไรนะ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์น่ะ
จะตอบว่าอะไรบ้าง
น่าสนใจ