Tuesday, September 29, 2009

What if ?







District 9 ให้ความรู้สึกไม่ต่างจากครั้งแรกที่ได้อ่าน Joe the Secret Agent นักสืบหัวปลาหมึกใน Katch ไม่เกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาวที่หน้าตาเป็น กุ้งเหมือนตัวละครบางตัวใน Joe ที่ผมอยากจะบอกคือ พลังการคิดภายใต้คำถาม "What if..." ของทั้งสองเรื่องทำได้อย่างเหนือชั้น ใน District 9 ใช้คำถามที่ว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีสิ่งมีชีวิตจากนอกโลกมาเยือน - และไม่ยอมกลับ มาทีมาเป็นล้านตัว และไม่รู้ด้วยว่าทำไมพวกมันไม่ยอมกลับ ยานแม่ลำเบ้อเริ่มจอดอยู่เฉยๆเหนือน่านฟ้าของ Johannesburg เมืองหลวงของอาฟริกาใต้ มนุษย์โลกจะจัดการกับสถานการณ์นี้ยังไง ความน่าสนใจของ District 9 ไม่ได้อยู่แค่ประเด็นเรื่อง immigrant สลัม แก๊งสเตอร์ การหลอกแดรกกระทั่งมนุษย์ต่างดาว การดูถูกสายพันธุ์และเหยีดหยามระหว่างสปีชี่
สำหรับผม ความเพลิดเพลินไปกับสถานการณ์ What if ... ในเหตุการณ์สมมตินี้ต่างหากที่ทำให้รู้ว่าตลอด 112 นาที ผู้กำกับตอบคำถาม แทบทุกคำถามที่ว่า ถ้าหากมนุษย์ต้องอยู่กับมนุษย์ต่างดาวจำนวนล้านกว่าตัวนาน 20 ปี จะเกิดสถานการณ์แบบไหนขึ้นบ้่าง ได้เกือบหมด เหตุการณ์อย่าง การผสมอาหารแมวให้เข้มข้นขึ้น ก็เพราะจริงๆแล้วอาหารที่ไว้เลี้ยงกุ้งทุกวันนี้ ก็ส่วนผสมอาหารแมวดีๆนี่เอง ป้ายประท้วงจากพวก NGO เรียกร้องสิทธิมนุษย์ต่างดาวอย่าง "We Love Alien" องค์กรเกิดใหม่อย่าง MNU (Multi-Nation United) การชนกุ้ง การตัดต่อภาพและการสร้างข่าวว่า มนุษย์เอากับกุ้ง แก็งไนจีเรียนที่บ้าเลือด / อวัยวะกุ้ง การทดลองที่ไม่ต่างจากนาซีทำกับยิวสมัยสงครามโลก ...เอาเข้าไป...
มีอย่างหนึ่งที่สงสัยมากๆคือ พวกกุ้ง (Prawn) มันพูดออกมาเป็นเสียงแบบนั้น เหตุการณ์ในหนังน่ะไม่มี sub ภาษาอังกฤษเหมือนที่คนดูเห็นบนจอแน่ๆ แล้วกุ้งมันคุยกับคนรู้เรื่องได้ยังไง ไม่ใช่ ต้องถามใหม่ ... แล้วคนมันคุยกับกุ้งรู้เรืองได้ยังไง ตั้งแต่แรกที่เข้าไป District 9 ตั้งแต่เริ่มช่วงแรกๆ แล้วพวกแก๊งไนจีเรียนคุยกับกุ้งรู้เรื่องหรือเปล่าและคุยด้วยภาษาอะไร ไม่ทันสังเกต สถานการณ์แบบนี้ อาจไม่ต่างจากเวลาเราเห็นยิวคุยกับเยอรมันด้วยภาษาของตัวเองทั้งคู่ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า คุยกันรู้เรื่องแค่ไหนและคุยกันคนละภาษา...

Thursday, September 10, 2009

Live and Let Die.



ขอแสดงความยินดีกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายทุกท่าน ที่ได้ทางเลือกใหม่ตามมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ที่อนุญาตให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถทำ "พินัยกรรมชีวิต" หรือ "หนังสือแสดงสิทธิปฎิเสธการรักษา" (Living Will) ที่แปลว่า การไม่ขอรับการรักษาที่ทำไปเพื่อยืดการตายหรือยื้อชีวิตที่ไม่อาจฟื้นกลับมาเหมือนเดิมได้ อย่างเช่น การขอให้หมอไม่ต้องเจาะคอใช้เครื่องช่วยหายใจ ไม่เอาสายยางให้อาหาร ไม่ต้องการการกระตุ้นหัวใจ ข้อความในมาตรา 12 ระบุว่า "บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้่ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฎิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความผิดทั้งปวงๆ" อ่านแล้วงงไหม ไม่เป็นไร เอาเป็นว่า การใช้สิทธิตามเจตนาที่ว่านี่ทำได้ 2 วิธี คือ 1. ผู้ป่วยเขียนหรือพิมพ์หนังสือแสดงเจตนาด้วยตัวเอง 2.ถ้าเจ็บหนักขนาดที่เขียนเองไม่ไหว ให้แสดงเจตนาเป็นคำพูดต่อหน้าหมอ-พยาบาลที่รักษา แล้วค่อยให้คนอื่นช่วยพิมพ์ให้แล้วค่อยเซ็นชื่อ (ถ้าไหวนะ) พร้อมพยาน
กฎหมายนี้น่าสนใจมากตรงนี้ครับ ในกรณีที่ผู้ป่วยทำพินัยกรรมปฎิเสธการยื้อชีวิต แต่ญาติไม่ยอมหรือไม่เห็นด้วย หมอต้องทำตามความต้องการของผู้ป่วยเป็นหลัก ตรงนี้แหละ ที่ความรู้สึกขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างลูก-หลานที่อยากทำทุกวิถีทางเพื่อยื้อชีวิตคนที่รัก นานขึ้นสักชั่วโมงหรือสักวินาทีก็ยังดี แต่ความรู้สึกของคนที่ไม่อยากอยู่แล้วล่ะ กรณีนี้ จะเรียกว่า ใครเห็นแก่ตัวกว่ากัน คนที่ต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป หรือคนที่อยากไปให้พ้นจากภาระของคนที่ต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป บอกตามตรงว่า รู้สีกดีที่ประเทศไทยยอมใช้กฎหมายมาตรานี้เจงๆ เราจะเป็นอิสระกันถ้วนหน้า สุดท้ายเวลาที่ต้องตาย คนเราก็ต้องตายไปคนเดียว ไม่ใช่หรือ - ว่าแล้ว subtitled ภาษาไทยในหนัง Kairo ก็ผุดขึ้นมาอีกจนได้ - ความตายคือความเงียบเหงาชั่วนิรันดร์ .... ความตายคือความโดดเดี่ยวชั่วนิรันดร์

Wednesday, September 2, 2009

All great artists go solo eventually. Not Pentagram.













Guitar Hero 5 แผ่นที่กำลังเล่นกันอยู่ ออกก่อนของจริงไม่รู้กี่วัน แต่เพลงที่อัดแน่นอยู่ 85 เพลง จากศิลปินอย่าง Bon Jovi ( You Give Love A Bad Name) , Coldplay (In My Place), Queen & David Bowie (Under Pressure), Nirvana (Smell Like Teen Spirit, Lithium), Blur (Song2) และอีกเพียบ ก็ฟันธงได้เลยว่า มันคงจะฮิตอีกตามเคย หลังจากเกิดขึ้นประมาณเกือบ 5 ปีที่แล้ว และกลายเป็นเกมระดับท็อปของอเมริกา พร้อมรายรับกว่า $2.9 billion และขายไปได้กว่า 25 ล้านแผ่น (คงไม่ได้นับยอดขายในไทย) Guitar Hero 5 ก้าวไปอีกขั้น ด้วยการแตกไลน์โปรดักท์ออกมาอีก 2 เกม คือ Band Hero กับ DJ Hero และหน้าที่ re-design brand identity เพื่อรับกับโปรดักท์ไลน์ตัวใหม่ที่ว่า ก็ตกเป็นหน้าที่ของ Pentagram ในความดูแลของ Michael Bierut
ไม่เข้าใจ ว่าอะไรๆก็ Pentagram ตั้งแต่หนังสือ Obama จนถึง FIFA World cup ที่อเมริกาจะขอเป็นเจ้าภาพ กลับมาที่ Guitar Hero เริ่มจาก logotype ตัวเก่า อัดแน่นไปด้วยความรู้สึกแบบ heavy metal จริงจัง แต่เกมใหม่อีก 2 ตัว Band Hero จะเป็นวงที่เล่น pop music ส่วน DJ Hero ก็ว่าด้วยการสปินแผ่น Pentagram เลยจัดการกับ logotype ทั้งหมด โดยลดความ heavy ให้เหลือแค่ประมาณลอยสักสติ๊กเกอร์เท่านั้นพอ
ว่าแล้วก็จัดการออกแบบ custom font ชื่อ Hero Bold ออกมาซะเลย ฟอนต์ sans-serif น้ำหนัก heavy-weight ตัวนี้ก็ based on logotype ที่ออกแบบขึ้นมาใหม่ ที่สำคัญคือ font ตัวนี้พอเอาไปใช้กับทั้ง 3 แบรนด์แล้ว ไปด้วยกันได้สบายๆ ทั้งที่เพลงมันคนละเรื่องกันเลย ก็พอเข้าใจแหละว่าทำไมถึงมาจ้าง Pentagram.