Thursday, February 5, 2009

Don't Let Me be Misunderstood.




อันเนื่องมาจากบทความที่ลงในมติชนรายวัน ฉบับเมื่อวันที่ 3 กุมภา 2552 หน้า 7 ใน section กระแสทรรศน์ (หน้าขวา) ปกติแล้วถ้าเป็นข้อเขียนที่พิมพ์อยู่หน้าขวามักจะถูกผมปฎิเสธอย่างไม่ไยดี ไม่มีเหตุผลพิเศษอะไรทั้งนั้น แค่รู้สึกว่าพื้นที่ในหน้าขวา (หน้า 7) จะถูกจัดสรรให้ขาจรมากกว่าขาประจำ แต่หน้า 7 ของเล่มนี้กลับลากให้ผมต้องอ่านบทความนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ

บทความนี้ชื่อ จะริ่งค่งม จะรญชึน เจินรพอน เขียนโดย พิศศรี กมลเวชช ข้างใต้ชื่อตนเขียนพิมพ์กำกับไว้ด้วยชื่อสถาบันที่สังกัด - มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ -
ผมคงต้องยอมซูฮกให้กับ วิธีเรียกความสนใจของผู้เขียน ที่ทำได้ประสบความสำเร็จแบบไร้ข้อกังขา ด้วยการตั้งชื่อเรื่องแบบนี้ แน่นอนว่าเป็นใครก็คงต้องสงสัยและอยากรู้แน่ๆว่า ไอ้ชุดคำที่เรียงกัน 3 บรรทัดนี่ คืออะไรกันแน่ แน่ใจหรือว่าเป็น ภาษาไทย เพราะครั้งแรกที่ผมเห็นชื่อบทความชิ้นนี้ ผมก็ไม่สามารถอ่านออกเสียงได้่แล้วตั้งแต่บรรทัดแรก

แต่ที่น่าสนและดูเหมือนจะติดกับผู้เขียนเข้าจังเบ้อเร่อ ก็คือย่อหน้าแรกของบทความนี้แหละ ย่อหน้าที่ช่วยให้ปริศนทุกอย่่างไขกระจ่างจนได้ ผู้เขียนเรื่มเรื่องด้วย ... ถ้าท่านพบคำเหล่านี้ " จะริ่งค่งม จะรญชึน เจินรพอน จะรงพ๊อง จันร่นพ่น ... " แล้วผู้เขียนบอกท่านว่า ทั้งหมดนี้เป็นการเขียนตามคำบอกคำเดียวกัน และเป็นคำไทยที่ท่านรู้จักดี ไม่ใช่ภาษาเขมรแน่นอน " ท่านอาจจะคิดว่าผู้เขียนล้อเล่น นอกจากไม่ได้ล้อเล่นแล้ว ถ้าบอกว่าคนเขียนคำแปลกๆเหล่านี้เป็นนักเรียนที่อยู่ถึงระดับมัธยมศึกษาโดยจบจากชั้นประถมปีที่ 6 จากหลายโรงเรียน และต่างก็เรียนภาษาไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 ปี แล้วเขียนคำว่า "เจรืญพร" ได่อย่างที่เห็น ซึ่งผู้เขียนเสนอเพียง 4-5 แบบ

เชื่อไหมว่า เฉพาะคำนี้เมื่อให้่นักเรียนกลุ่มนี้ประมาณ 30 คนเขียน มีถึง 34 แบบ ผิดเกินจำนวนคนเขียน เพราะบางคนเมื่อให้เขียน 2 ครั้งก็เขียนผิดมา 2 แบบ สำหรับคำว่า "เจริญพร" ที่เขียนมาสารพัดแบบนั้น เหลือเค้าให้สังเกตได้ก็มีเพียงขึ้นต้นด้วยตัว จ หรือที่ใกล้เคียงคำเดิมมากกว่านั้น ก็ตรงมีเสียง จะ นำหน้า

แล้วผู้เขียนก็เน้นย้ำในบรรทัดต่อมาว่า ... ทำให้เห็นได้ชัดว่า นักเรียนพยายามอย่างหนักที่จะเรียกความจำขึ้นมาใช้ โดยไม่มีหลักการผสมคำ การสะกดคำเข้าไปช่วย ฉะนั้น เด็กที่ออกเสียงได้ จึงไม่ใช่ อ่านได้่ แค่ จำเสียงของรูปเขียนได้ เท่านั้น (ยืนยัน! เพราะแม้จบขั้นปริญญาแล้วก็ยังมีอาการนี้อยู่ไม่น้อย)

ผมไม่สามารถเชื่อในสิ่งที่ พิศศรี กมลเวชช เขียนในย่อหน้าที่แล้วได้ทั้งหมด ที่บอกว่า นักเรียนพยายามอย่างหนักที่จะเรียกความจำขึ้นมาใช้ โดยไม่มีหลักการผสมคำ การสะกดคำเข้าไปช่วยนั้น ไม่อยู่ในกรณีที่จะสามารถรับได้ว่า เด็กคนที่ได้ยินคำว่า เจริญพรและเขียนออกมาเป็นคำว่า จะริ่งค่งม นั้นใช้ข้อมูลความจำจากไหน ? นี่ไม่ใช่คำหรือรูปแบบคำที่จะยอมรับได้ว่า เด็กคนนี้ได้พยายามอย่างหนักในการเรียกความจำ ความจำของอะไร ? ความจำว่าคำๆนี้น่าจะเขียนออกมาเป็นเช่นนี้หรือ ? ที่ผมสงสัยมากกว่าก็คือ การเลือกใส่ วรรณยุกต์ เข้าไปในคำๆนี้มากกว่า ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใด แต่ผมคิดว่า เด็กคนนี้ไม่ได้ใช้ความพยายามในการเรียกข้อมูลที่เคยจำได้ว่าตัวนี้หน้าตาเป็นเช่นไร เขียนหรือสะกดอย่างไร แต่เป็นการมั่วแบบโคตรมั่วมากกว่า ในสถานการณ์ที่ตอบไม่ได้ในการทดสอบ หนทางรอดเอาดาบหน้าก็คือ รู้แล้วล่ะว่า เจริญพร ต้องมีตัว จ แน่ๆ ส่วนที่เหลือตอบไม่ได้จริงๆก็ยัดมันลงไปให้เด็มที่ที่สุด ยิ่งเขียนมากเปอร์๋เซ็นต์ที่อาจจะถูกก็๋จะมีมากขึ้นตามไปด้วย นั่นเลยพอจะอนุมานเอาได้ว่าทำไมถึงเลือกใส่วรรณยุกต์เข้าไปด้วย

ผู้เขียนยังบรรยายต่อไปว่า ไม่ว่าคำนั้นจะสั้นๆแค่พยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ยังเกิดอาการเดียวกัน อย่างดีที่สุดที่เรียกความจำได้คือเรียกได้ครบ ชนิดครบแต่ตัว เช่นคำว่า บาตร ก็เขียนมาเป็น ตรบา ใยบัว เป็น ใยวับ กล้าหาญ เป็น ก้าลหาญ รางวัล เป็น ลางวัร อาหาร เป็น อาหรา เป็นต้น
ผู้เขียนกล่าวถึงกระบวนการสอน การใช้ภาษา ที่ไม่สร้างภาระการจำให้เกิดกับเด็กจนเกินกำลัง ผู้เขียนกล่าวถึงวิธีการเรียน-การสอนในปัจจุบันที่มักจะนิยมให้เด็กอ่านคำ มากกว่า การสอนแบบแจกลูก ไล่ทุกเสียง ผลปรากฎก็คือ เด็กจะอ่านได้เฉพาะคำที่เคยเห็นและจำได้ และจะเรียกว่าเด็กพวกนี้อ่านได้ก็ไม่ถูกซะทีเดียวนัก น่าจะเรียกว่า จำได้ มากกว่า อ่านได้

จริงๆแล้วในบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนยังพูดเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างธรรมชาติและลักษณะของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ แนะนำว่าครูที่จะสอนไม่ควรใช้วิธีการสอนที่เหมือนๆกันสอนระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษ ถึงแม้ช่วงเริ่มต้นจะโอเคอยู่บ้างถ้าสอนการพูด - การฟัง และจะไม่เข้าท่าเลยถ้าใช้วิธีการสอนอ่าน - เขียนด้วยวิธีการแบบสอนเป็นคำ

ผมไม่มีความรู้เรื่องการเรียน-การสอนภาษาไทยหรือแม้แต่การเรียน -การสอนภาษาอังกฤษ อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะสอนฟัง สอนพูด สอนอ่าน หรือว่าสอนเขียน จะให้เอามาพูดเป็นฉากๆ แบบที่ พิศศรี ยกขึ้นมาเขียนสนับสนุนเนื้อหาในบทความก็คงไม่ไหว และนั่นเลยเป็นเหตุผลที่ผมจะจบข้อเขียนของผมไว้ตรงนี้จะดีกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
คำเตือน - หากอ่านบทความนี้ไม่รู้เรื่อง ไม่ว่าใครเป็นคนเขียน คุณสามารถสอบถาม / และหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทั้งจากผมและจากหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับ วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2552

2 comments:

ToeyToeyToey said...

นึกว่าพิมพ์ผิด

TaTum said...

แล้วเด็กพวกนี้ตอนเค้าอ่านหนังสือสอบกันจะอ่านได้งัยฟะ!

ไม่ค่อยเป็นตรรกะเลยวะ column มติชนอันนี้ใ

ถ้าเป็นอย่างที่ section กระแสทรรศน์ ว่า...

มันไม่ใช่จะมาบ่นเรื่องระบบการสอนแล้ว

สอนไงวะให้เปนแบบนี้ได้ ยิ่งกว่า 511 Kinderhime อีก !!!!!